การแตกร้าวในอาคาร
การแตกร้าวในอาคารมี 2 ชนิด
ชนิดที่ 1 การแตกร้าวที่ไม่เป็นอ้นตราย มีลัีกษณะเป็นเส้นเล็กๆ ขนาดเท่าเส้นผม เช่น การแตกร้าวลายงาของผนังปูนฉาบ การแตกร้าวของผิวหินขัด การแตกร้าวของกรวดล้างทรายล้าง การแตกร้าวของพื้นโรงรถเป็นต้น ถึงแม้การแตกร้าวเหล่านี้จะส่ง ผลด้านความสวยงาม รวมทั้งบางจุดอาจเกิดการรั่ว - ซึมได้
ชนิดที่ 2 การแตกร้าวที่เป็นอันตราย เช่น การแตกร้าวของ เสา คาน พื้น แตกร้าวจนมองเห็นเหล็กภายในรอยแตกร้าว เหล่านี้ จะเป็นเส้นใหญ่มากกว่า 0.5 มม. หรือขนาดที่ปลายดินสอกด สามารถสอดเข้าไปในรอยแตกได้
ระบบท่อน้ำ - สุขภัณฑ์
ท่อน้ำที่ใช้ภายในบ้านมีมากมายหลายชนิด แต่ที่นิยมมากที่สุดในการนำมาใช้กับบ้านพักอาศัย คือท่อพีวีซีสีฟ้า ชั้น คุณภาพ 13.5, 8.5 และ 5 ซึ่งเป็นท่อน้ำดี ส่วนบ้านหลังไหนจะใช้ท่อน้ำชั้นคุณภาพใด ขึ้นอยู่ักับวิศวกรผู้ออกแบบบ้านหลังนั้น จะกำหนด
มาตรฐานเกี่ยวกับระบบท่อน้ำ กำหนดเอาไว้ว่า
1. ท่อพีวีซี สีฟ้า คือท่อน้ำดี หมายถึงท่อที่ใช้รับแรงดัน เช่น ท่อที่ต่อไปยังฝักบัว ท่อที่ต่อไปยังก๊อกน้ำภายในบ้าน เป็นต้น
2. ท่อพีวีซี สีเทา คือท่อน้ำทิ้ง หมายถึงท่อที่ไม่มีแรงดัน เช่น ท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างหน้า เป็นต้น
3. ท่อพีวีซี สีเหลือง คือท่อร้อยสายไฟภายในบ้าน
ส่วนท่อน้ำร้อนจะใช้ท่อทองแดง ท่อ PB สีดำ หรือแป๊ปน้ำที่เรียกว่า ท่อ GSP ก็ได้ จะเลือกใช้ท่ออะไรนั้นวิศวกรและผู้ออก แบบบ้านพักอาศัยหลังนั้นจะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสม แต่ที่สำคัญคือ การติดตั้งเครื่องทำความร้อนจะต้องดูแลข้อต่อต่างๆ เป็นพิเศษ เพราะเป็นจุดทีี่เกิดการรั่ว - ซึมได้ง่าย
โดยมากแล้ว ระบบท่อน้ำจะถูกซ่อนไ้ว้ใต้อาคาร ในผนัง หรือใต้พื้น หากมีการรั่ว - ซึม จะสังเกตได้ยากทำให้เราต้องจ่าย ค่าน้ำมากกว่าปกติ งานก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะรอยต่อทุกจุดของระบบ
จากมิเตอร์ของการประปาถึงปั๊มน้ำในบ้านก็ควรมีถังพักน้ำเพื่อรองรับน้ำ ไม่ควรสูบน้ำโดยตรงจากเส้นท่อ เพราะมีผลเสีย หลายประการ เช่น ถ้าบริเวณนั้นน้ำไหลน้อย เครื่องสูบน้ำก็ปั๊มอากาศเข้าไปมาก มิเตอร์ก็จะหมุน เหมือนมีการสูบน้ำเข้าไป หรือ ปั๊มน้ำจะทำให้แรงกันในเส้นท่อลดลง ประกอบกับรอยต่อของเส้นท่อบางจุดรั่ว ก็จะดูดน้ำสกปรกจากภายนอกเข้าไปในเส้นท่อ ได้ เป็นต้น
ส่วนข้อระวังของการติดตั้งสุขภัณฑ์ ควรติดตั้งตามคำแนะนำในคู่มือของแต่ละยี่ห้ออย่างละเอียด เพราะหากละเลยจุดหนึ่ง จุดใดไป อาจเป็นสาเหตุทำให้สุขภัณฑ์มีปัญหาหลังการติดตั้งได้ เช่น ชักโครกแล้วไม่มีน้ำเอ่อหล่อเลี้ยงในโถชักโครก หรือน้ำ ไหลลงชักโครกตลอดเวลา เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นข้อบกพร่องที่เกิดจากการติดตั้งที่ผิดวิธีทั้งสิ้น
การถมดิน
ดินถม เป็นคำที่ใช้เรียกทั่วไปของดินถมบ้าน เราสามารถแยกประเภทของดินถมได้ดังนี้
1. ดินผิว ดินประเภทนี้จะมีราคาแพง ใช้ถมดินในบ้านเพื่อปลูกต้นไม้ ปลูกหญ้า ปลูกพืชทุกชนิด หรือถมบริเวณสนามหญ้า เพื่อ จัดสวนก็ได้
2. ดินชั้น 2 ราคาของดินประเภทนี้จะต่ำกว่าดินผิว เพื่อจัดสวนก็ได้ผสมของทรายอยู่บ้าง ปลูกต้นไม้ได้ไม่ดีนัก ทั่วไปนำไปถม รองพื้นทางเ้ท้าหรือถมใต้อาคารมากกว่า
3. ดินซีแล๊ค เป็นดินที่มีราคาถูกที่สุด มีส่วนผสมของหิน กรวด ทราย หรือจะเรียกว่าดินดานก็ได้ ดินประเภทนี้ไม่มีสารอินทรีย์ ใดๆ ที่เป็นประโยชน์กับต้นไม้ นิยมถมส่วนที่อยู่ใต้อาคาร รอบๆ บ้าน ส่วนที่เป็นโรงงานที่ต้องการยกระดับให้สูงขึ้น โดยใช้ดิน รองรับ ถมเพื่อประโยชน์ในการทำให้โครงสร้างพื้นบริเวณนั้นๆ สามารถรองรับน้ำหนักได้ดีขึ้น เช่น พื้นถนน พื้นโรงงาน ลาน เอนกประสงค์ เพื่อตากพืชผลทางการเกษตร ลานตากมันสำปะหลัง ลานตากข้างเปลือก เป็นต้น
ส่วนดินอื่นๆ ก็นำมาใช้บ้าง ขึ้นอยู่กับการนำมาใช้ประโยชน์ในส่วนใดของอาคาร หรือหากต้องการประโยชน์ 2 ประการ กล่าวคือ เพื่อการปลูกต้นไม้และการยกระดับพื้นให้สูงขึ้นด้วย กรณีเช่นนี้ดินชั้น 2 จะเหมาะสมที่สุด
การรั่ว - ซึม และการใช้ซิลิโคน
ซิลิโคน เป็นสารเอนกประสงค์ใช้ในงานก่อสร้างและงานทั่วไปไม่ว่าสารเหล่านั้นจะเรียกว่าอะไร เราจะเรียกว่า ซิลิโคน เสมอๆ จึงขอแนะนำดังนี้
ซิิลิโคน มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป นับ 100 ชนิด ยึดเกาะกับกระจกได้ดี ทนน้ำได้ดี ทนสารเคมี เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ ได้ดี แต่ใช้กับงานปูนได้ไม่ดีนักและทาสีทับไม่ได้ ซิลิโคน จึงเหมาะกับงานภายใน เช่น ใช้ยาแนวห้องน้ำ แต่มีคุณสมบัติในการ ดูดฝุ่นเข้ามาง่ายๆ จึงต้องหมั่นทำความสะอาดบริเวณรอยต่อเหล่านี้้เป็นพิเศษ
อะครีลิก ยื่ดหยุ่นตัวได้ดีมาก เกาะเกี่ยวกับคอนกรีตไม่ดีนัก ทาสีทับได้ นิยมใช้กับงานกระจกอลูมิเนียม
โพลียูริเทน ยึดเกาะกับคอนกรีตได้ดี ยืดหยุ่นตัวสูง ทนแสงอาทิตย์ เนื้อแข็งกว่่าซิลิโคน ไม่ดูดฝุ่น ไม่เกิดเชื้อรา ทาสีทับ ได้ทันที จึงนิยมมาใช้กับรอยต่อของอาคารที่มาชนกับระหว่างอาคารเดิมกับอาคารใหม่
การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาแนว จึงต้องดูจุดประสงค์ให้ชัดว่าจะนำไปใช้เพื่ออะไรใช้ภายในหรือภายนอก จำเป็นต้องกันน้ำ หรือไม่ ต้องการทาสีทับหรือไม่ แล้วเลือกวัสดุให้ถูกต้องกับวัตถุประสงค์
ส่วนการปฏิบัติก่อนการใช้ ต้องปฏิบัติเหมือนๆ กันทุกผลิตภัณฑ์ คือ
1. บริเวณที่จะอุดยาแนวต้องสะอาด ปราศจากฝุ่นผง คราบน้ำมัน และคราบสกปรกต่างๆ
2. ต้องแห้ง ไม่มีน้ำ ไม่มีความชื้น
3. ผิวงานต้องราบเรียบพอสมควร
4. บริเวณที่จะอุดยาแนวต้องสกัดให้ความกว้าง-ยาว ได้สัดส่วน เช่น กว้าง 2 ซ.ม. ลึก 1 ซ.ม.
การกำจัดปลวก
ปลวก อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ไม่ว่าบ้านจะสร้างด้วยไม้หรือปูน ปลวกสามารถเข้าไปได้ในตัวอาคารได้ทั้งนั้น โดยเข้ามา ตามรอยต่อของอาคาร รอยแตกร้าวของผนัง ก่ออิฐ ฉาบปูน รอยร้าวของไม้ แทรกตัวเข้าไปในเสาโรงรถ ที่พอกเอาไว้ด้วยอิฐก่อ ฉาบปูน เข้าไปในกล่องซ่อนท่อโดยอาศัยเป็นเส้นทางเดินสอดแทรกตัวมาตามบัวเชิงผนัง หรืออาศัยสายไฟเป็นทางเดิน เป็นต้น
การป้องกันปลวกในอาคารระหว่างก่อสร้าง จะต้องกำจัดปลวกที่ต้นตอ โดยทำก่อนจะปิดพื้นชั้นล่าง ด้วยการอัดน้ำยาตาม แนวคานด้านใน ใช้หัวฉีดน้ำยาอัดน้ำยาลงใต้ดิน ให้ห่างจากแนวคานด้านใน 6" ถึง 8" ระยะห่าง กัน 18" ตลอดแนวคานด้าน ในทุกด้าน ฉีดเคลือบน้ำยาที่ภายในทั้งหมดแบบปูพรมทุกตารางนิ้ว เพื่อให้น้ำยาซึมลงไปประสานกับน้ำยาซึ่งได้อัดไว้แล้วใน ระดับใต้คาน และอัดน้ำยาตามแนวคานด้านนอก ห่างกัน 18" ตลอดแนวคานด้านนอก
นอกจากวิธีฉีดน้ำยาลงในดินแล้ว ยังมีการกำจัดปลวกแบบระบบวางท่อ ซึ่งจะมีการวางท่อโดยรอบ เป็นท่อพีวีซีหรือท่อ พีอีสีดำ วางในแนวคานคอดินทั้งหมด เจาะรูตรงท่อ เพื่อติดตั้งตัวสปริงเกอร์ แต่ละตัวห่างกันประมาณ 50-80 ซม. โดยรอบแนว คานคอดินภายในอาคารทั้งหมด แล้วใช้เครื่องอัดน้ำยาเคมีผ่านท่อ PIPE เป็นละอองฝอยด้วยแรงอัด 25-30 ปอนด์ ซึ่งวิธีนี้ จะมี ประโยชน์คือไม่ต้องเจาะพื้น เมื่อต้องการกำจัดปลวกภายหลัง
โดยส่วนใหญ่ บริษัทกำจัดปลวก จะมีการรับประกัน 3 ปี และแต่ละปี จะเข้ามาตรวจสอบ ประมาณ 3 ครั้ง หรือทุก 3 เดื่อน แล้วแต่กรณี
ปัญหา กระเบื้อง หิน
ช่างโดยทั่วไปมักนิยมปูกระเบื้องด้วยวิธีที่เรียกว่า ปูแบบซาลาเปา โดยเอาปูนมาโปะลงตรงกลางกระเบื้องแล้วปู จะเห็นได้ ว่าขอบของกระเบื้องจะไม่มีเนื้อปูนอยู่เลย เวลาเคาะเราจะได้ยินเสียงโปร่งๆ ส่งผลให้กระเบื้องหลุดร่อนภายหลังได้ง่ายเป็นวิธี การปูที่ไม่ถูกต้อง อีกวิธีหนึ่งซึ่งเป็นการปูที่ไม่ถูกต้องเช่นกัน คือการปูสด โดยช่างจะปูกระเบื้องลงบนพื้นผิวปูนที่เทเสร็จใหม่ๆ โดยอาศัยน้ำปูนมาเป็นตัวยึดกระเบื้อง วิธีนี้จะส่งผลเสียคือ กระเบื้องจะดูดน้ำปูนซีเมนต์ออกมา เมื่อใช้งานพื้นกระเบื้องไปสัก พักหนึ่ง กระเบื้องก็จะหลุดร่อน เนื่องจากแรงยึดเกาะไม่ดีพอนั่นเอง
การปูแห้ง คือวิธีการปูกระเบื้องที่ถูกต้องตามหลักวิชาการใช้ปูนกาว หรือซีเมนต์กาวเป็นตัวประสานระหว่างพื้นปูนกับ
กระเบื้อง โดยให้ปาดปูนกาวให้ั่ทั่วพื้นปูนด้วยเกรียงหวี จากนั้นจึงปูกระเบื้องลงไป พื้นกระเบื้องจะมีอายุการใช้งานได้นาน เพราะปูนกาวมีแรงยึดเกาะได้ดีกว่ากาวอื่นๆ
สำหรับหินไม่ว่าจะเป็น หินอ่อน หินแกรนิต หรือหินธรรมชาติอื่นๆ ที่จะปูลงไปที่พื้นหรือผนังที่เป็นปูน จะต้องเคลือบน้ำยา ด้านหน้า ด้านหลัง และขอบทั้งสี่ด้านก่อนปูเสมอ เพราะน้ำยาที่เคลือบจะช่วยป้องกันน้ำปูนซึมขึ้นมาตามรอยต่อของหิน หรือ คราบขาวไหลออกมาตามแนวรอยต่อ ซึ่งจะทำให้หินหมดความสวยงาม การเคลือบน้ำยาที่ผิวหน้าจะช่วยป้องกันน้ำ หรือสิ่ง สกปรกซึมเข้าด้านหน้า้ของหินเป็นการป้องกันเกิดคราบเหลือง หลังการใช้งานหรือการตกแต่างบ้านที่มักจะทำให้ผิวหินเสียหาย เพราะหินจะมีปัญหามากที่พบเห็นบ่อยๆ คือ มีคราบเหลืองสีคล้ำ มีฝุ่นสกปรกสะสมตามรูพรุนแก้ไขไม่ได้ เกิดรอยขีดข่วน รอยด่างเกิดคราบขาวเป็นขี้เกลือ เกิดรอยซึมน้ำหรือน้ำมันตามรอยต่อ เป็นต้น
การป้องกันจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้งานออกมาดี หลังจากการปูและใช้งาน ส่วนในอนาคตหินจะมีความสกปรกหรือหมด ความเงางามนั้นให้ใช้น้ำยาเคมีภัณฑ์เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา เช่น หินอ่อนเก่าใช้งานหลายปีหมดความเงางาม แก้ไขได้ด้วยใช้ ผงพิเศษขัดเงาด้วยเครื่องปั่นเงา
พื้น-ผนัง หินแกรนิตสกปรกฝังลึก มีคราบเหลืองและสนิม ก็ใช้น้ำยาเฉพาะเช็ดทำความสะอาด หินก็จะกลับมาสวยงามดัง เดิมได้
หินแกรนิตพ่นไฟสกปรกมาก มีน้ำซึม มีฝุ่นสะสม ต้องใช้น้ำยาทำความสะอาด แล้วเคลือบทับด้วยน้ำยาเฉพาะอีกครั้งก็แก้ ปัญหาไ้ด้
การปูหินกลางแจ้ง ความร้อนจากแสงแดด ทำได้หินขยายตัว (หินมีการขยายตัวมากกว่าปูนซีเมนต์หลายเท่า) ส่งผลทำให้ หินดันกันเอง จนหลุดร่อน ฉะนั้นอย่าปูหินชิดกำแพง ควรเว้นไว้ 5-10 มม. แล้วฉีดซิลิโคนให้เต็มช่องว่าง (ต้องใช้ซิลิโคนที่ใช้ กับหิน) หรือจะใช้ขอบบัวผนังปิดก็ได้
บัวพื้น ผนัง บัวตกแต่ง
บัวพื้น ผนัง บัวตกแต่ง ต่างๆ ปัจจุบันมีวัสดุหลากหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น บัวไม้ ที่แกะสลักสวยงาม บัวโพลียูริเทนมี น้ำหนักเบาลวดลายประดิษฐ์ไปตามลักษณะของงานตกแต่ง
บัวปูนปั้น ปัจจุบันมีแบบให้เลือกหลากหลาย นิยมนำมาติดบ้านให้หรูหราสวยงาม แปลกตาขึ้น ซึ่งเราจะเห็นบัวปูนปั้น ขนาดใหญ่ๆ เช่น เสาโรมัน มีบัวหัวเสา
บัวฐานเสา บัวเสา บัวขอบระเบียง ติดแล้วทำให้ตึกแถวธรรมดาเกิดมูลค่าเพิ่มมากขึ้นได้ มีความสวยงาม โอ่โถงมากขึ้น บัวประเภทนี้เรียกว่าบัวปูนปั้นสำเร็จรูป
บัวจี อาร์ ซี (G.R.C.) เป็นบัวที่มองแล้วเหมือนปูนธรรมดา แต่ผิวเรียบเนียนกว่า บัวชนิดนี้ จะใช้ใยไฟเบอร์เข้าไปผสมกับ ปูนซีเมนต์ หล่อแบบออกมาตามลวดลายที่สั่งได้ แม้ต้องการขนาดใหญ่เท่าได ก็สามารถออกแบบได้ตามความประสงค์ที่ ต้องการ เพราะมีน้ำหนักไม่มาหนัก
บัวปูนหล่อในที่ ปัจจุบันยังมีผลิตอยู่บ้าง เช่น บัวขอบหน้าต่าง ยังมีการเข้าไม้แบบแล้วเทปูนหล่อ หลังจากนันจึงฉาบปูน แต่งแนว บัวแบบนี้ทำได้ต่อเม่อไม่มีลวดลายมากนัก ถ้ามีลวดลายมาก จะต้องเปลี่ยนมาใช้บัวสำเร็จ
บัวปูนพลาสเตอร์ มีบัวฝ้าเพดานจำนวนมาก ใช้บัวพลาสเตอร์สำเร็จรูปมาติด เพราะมีน้ำหนักเบา สีขาวสบายตา สามารถ ทาสีได้ตามต้องการ
บัวทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นบัวพื้น ผนัง หรือบัวตกแต่งอื่นๆ เช่น บัวฝ้าเพดาน บัวเพดานกลางห้อง บัวรอบๆ โคมไฟกิ่งล้วนแต่ เป็นสิ่งตกแต่งเพิ่มความสวยงามตามสไตล์ที่ชอบความสวยงาม ความแข็งแรง ทนทานจะต้องควบคู่กันไป ควรปรึกษาผู้รู้ที่จะให้ ความรู้ข้อแนะนำในการทำบัวต่างๆ มาใช้ความสวยงามจะเกิดขึ้น พร้อมๆ กับความทนทานแข็งแรง ควบคู่กันไปตามเจตนารมย์
งานตอก เจาะเสาเข็ม
เสาเข็มตอกมีให้เห็นกันทั่วไปโดยใช้ปั้นจั่นโครงเหล็ก ตอกด้วยลูกตุ้มเหล็ก ความลึกของเสาเข็มขึ้นอยู่กับสภาพพื้นดินแต่ ละที่
ความลึกของแต่ละพื้นที่ไม่แน่นอน ในกรุงเทพฯ ดินที่เรียกว่าชั้นทราย ชั้นแรกอยู่ที่่ ประมาณ 21 เมตร เหมาะสำหรัีบการ ตอกเสาเข็มบ้านพักอาศัย ตึกแถว อาคารศูนย์การค้าทั่วไป ส่วนดินชั้นทราย ชั้นที่ 2 อยู่ 60 เมตร เหมาะสำหรับการตอกเสาเข็ม ของอาคารสูงๆ เท่านั้น
บางครั้งวิศวกรอาจออกแบบบ้านให้ใช้เสาเข็มสั้นแทน โดยปลายเสาเข็มอาจอยู่ที่ 12 เมตร 14 เมตร หรือ 16 เมตร แต่มี หลายๆ ต้น โดยไม่ต้องให้ปลายเสาเข็มไปอยู่ที่ระดับ 21 เมตร ก็ทำได้ในเชิงวิศวกรรม
หากไม่มีอุปสรรคอะไร วิศวกรจะออกแบบเป็นเสาเข็มตอก เพราะควบคุมคุณภาพของงานได้ง่ายขึ้น ตั้งแต่ตัวของเสาเข็ม และวิธีการตจอกราคาของเสาเข็มตอกก็ไม่แพงมากนัก
เสาเข็มเจาะ จะใช้ก็ต่อเมื่อเสาเข็มตอกลำเลียงเข้าไปไม่ได้บริเวณใกล้เคียงมีการก่อสร้างหนาแน่น หรือสร้างอาคารชิด
เขต จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้เสาเข็มเจาะแทน ทั่วไปเสาเข็มเจาะจะมีราคาแพงกว่าเสาเข็มตอกประมาณเกือบเท่าตัว ควบคุม คุณภาพยากกว่า ตั้งแต่ขบวนการเจาะการใส่เหล็ก การหล่อคอนกรีต และการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม
ไม่ว่าจะใช้เสาเข็มตอกหรือเสาเข็มเจาะยังคงมีความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างเท่ากัน เพราะวิศวกรจะออกแบบภายใต้กฎกติกาเดียวกัน ถ้าในแบบระบุว่า เสาเข็ม 21 เมตร ก็ไม่จำเป็นต้องให้ได้ความลึก 21 เมตร เสมอไป หากเจาะลงไปได้แค่ 18.5 หรือ 19.5 เมตร และเจาะต่อไปอาจจะพบน้ำและทะลุชั้นทรายชั้นแรก ก็สามารถหยุดเจาะ
ได้ โดยผู้เจาะเสาเข็มจะวินิจฉัยจากดินที่ปลายเสาเข็มเป็นหลัก
การใช้ปูนสำเร็จรูป
ปูนสำเร็จรูป ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดในปัจจุบัน มีความหลากหลายให้เลือกซื้อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการใช้ งาน เช่น
1. ปูนฉาบอิฐมอญ อิฐบล็อก
2. ปูนฉาบอิฐมวลเบา
3. ปูนก่ออิฐมอญอิฐบล็อก
4. ปูนก่ออิฐมวลเบา
5. ปูนฉาบโครงสร้าง
6. ปูนฉาบผิวบาง
7. ปูนซ่อมเอนกประสงค์
8. ปูนกาว
9. ปูนยาแนว
ปูนสำเร็จรูปเหล่านี้มีคุณสมบัติดีกว่าปูนที่นำมาผสมเองทุกกรณีเนื่องจากออกแบบส่วนผสมมาอย่างถูกต้องจากโรงงาน
ผลิต เพียงผู้ใช้งานนำมาผสมกับน้ำแล้วกวนให้เข้ากัน ก็สามารถนำมาใช้ในงานก่อ งานฉาบ งานปูกระเบื้อง และงานอื่นๆ ได้ ทันที
ในระยะแรกๆ จะดูเหมือนว่าปูนสำเร็จมีราคาแพง แต่หากคิดภาพรวมทั้งหมด ราคาของปูนสำเร็จไม่ได้แพงกว่าเลย และ อาจจะมีราคาถูกกว่าทรายธรรมชาติจะมีราคาแพงขึ้น โดยเฉพาะย่านใจกลางเมืองใหญ่ๆ ทรายจะแพงและมีปัญหาเรื่องการขน ส่งเข้าไปในสถานที่่ก่อสร้าง ถ้าใช้ปูนสำเร็จรูปเพียงแต่ขนปูนเข้าไป มีน้ำผสมงานต่างๆ ก็สามารถเดินหน้าได้ โดยไม่ต้องยุ่ง ยากมากนัก
การใช้ถังน้ำ
ถังน้ำที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้เป็นถังแสตนเลส ทรงกลม มีขนาดความจุที่หลากหลาย ตั้งแต่ 200 ลิตร จนถึง 5,000 ลิตร บางยี่ห้อมีถังขนาดถึง 8,000 ลิตร การใช้ถังสำรองน้ำในบ้าน ควรคำนวณดูว่าจะใช้ถังน้ำขนาดเท่าใด สามารถคำนวณได้ง่ายๆ
สูตรการคำนวณ
จำนวนคน x 200 x 3 x เท่ากับ ........ ลิตร
จำนวนคน คือ คนในบ้าน
200 คือ ตัวเลขมาตรฐานที่กำหนดว่า คน 1 คน จะใช้น้ำเท่ากับ 200 ลิตรต่อคน ต่อวัน
3 คือ วันที่ใช้สำรองน้ำ 3 วัน
การใช้ถังน้ำสำรอง ถ้าไม่มีความจำเป็นใดๆ ไม่ควรฝังใต้ดิน เพราะถังน้ำใต้ดินดูแลรักษายาก ทั้งเรื่องท่อและเรื่องถัง ถ้าจำ เป็นต้องฝังดิน ก็ควรใช้ถังชนิดสำหรับฝังดินโดยเฉพาะ ทำด้วยไฟเบอร์กล๊าส
การฝังถังลงใต้ดิน ต้องระมัดระวังเรื่องน้ำภายนอกที่อาจไหลเข้าไปในถัง เช่น น้ำผิวดิน น้ำฝน หากทำฝาถังไม่ดีพอ
ถังสำรองน้ำยังมีความจำเป็นกับทุกๆ อาคารบ้านเรือนระบบท่อน้ำที่เข้ามาสัมพันธ์กับเรื่องของถังมีความสำคัญมาก จึงต้อง ดูแลให้สอดคล้องกันทุกระบบ ถังน้ำจึงจะออกมาดี คุ้มค่าประโยชน์ที่ได้รับ
การใช้ผนังเบา
ผนังเบา คือผนังที่ทำขึ้นโดยไม่ต้องมีคานรองรับใต้พื้น เป็นวัสดุเบาๆ มีน้ำหนัก 30-40 กิโลกรัมต่อตารางเมตร นิยมใช้ทั้ง ภายในและภายนอกอาคาร ตัวอย่างเช่น ผนังอีเตอร์แพน บอร์ด
อีเตอร์แพน บอร์ด เป็นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด ใช้งานได้หลากหลาย เช่น ผนังภายนอกใช้ความหนาที่ 6, 7.5, 9 และ 12 มม. ตามแต่ละสภาพของงาน สามารถตัดแผ่นให้ได้ขนาดที่ต้องการ เว้นรอยต่อ 3-5 มม. รอยต่อใช้โพลียูริเทนยาแนว ก็จะเป็น ผนังเบาที่สวยงามได้
หรืองานผนังภายใน สามารถใช้ความหนาที่ 5.5, 6, 7.5 และ 9 มม. ตีชิดฉาบเรียบด้วยผงยิบซั่มและปลาสเตอร์ ไม่ต้อง เว้นรอยต่อระหว่างแผ่นเรียบสนิทไร้ร่องรอย เก็บหัวสกรูได้สวยงาม เป็นทั้งผนังเก็บเสียง กันไฟปลอดภัยจากมอก ปลวก และ เชื้อรา
นอกจาก แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ดแล้ว ยังมีวัสดุแผ่นอีกหลายชนิดในท้องตลาด เช่น ยิบซั่มบอร์ด ไม้อัด กระเบื้องแผ่น เรียบ สามารถเลือกใช้ได้โดยไม่ต้องทำคานรองรับใต้พื้น การจะใช้วัสดุอะไร ขอให้ดูข้อมูลวัสดุนั้นๆ ว่ากันปลวก กันมอด กันน้ำ ได้ดีเพียงใด การยึดโยงติดตั้งทำอย่างไร มีความคงทนได้ดีเพียงใด เพื่อนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้ วัสดุนั้นๆ กับบ้านคุณ
การมุงหลังคา
รั่ว ร้อน มักจะเป็นปัญหาของหลังคา ฉะนั้น ไม่ว่าจะมุง หลังคาด้วยวัสดุอะไรก็ตาม ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำการมุงหลัง คากับวัสดุนั้นๆ อย่างเคร่งครัด วัสดุแต่ละชนิดจะมีเทคนิคการมุงเฉพาะที่ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น การมุงกระเบื้องโมเนีย ก็จะ มีการกำหนดว่า
1. หลังคาต้องเอียงไม่น้อยกว่า 17 องศา
2. ระดับหลังไม้เชิงชายคา รอบชายคาต้องสูงกว่าไม้ระแนง 25 มม.
3. ระดับหลังไม้เชิงชายคา ต้องสูงระดับหลังแป
นี่คือ ตัวอย่างหนึ่งของข้อกำหนดของวัสดุมุงหลังคาแต่ละชนิด ถ้าไม่ปฏิบัติตามหรือละเลย แม้แต่จุดเล็กๆ หลังคาที่มุง ก็มีโอกาส รั่ว หรือร้อนได้ หรือการมุงกระเบื้องลอนคู่ ผู้ผลิตกำหนดให้ตัดมุมกระเบื้อง ช่างบางคนแนะนำเจ้าของบ้านว่าไม่ตัดก็ ได้ สิ่งที่จะเกิดตามมาในอนาคตคือหลังคารั่ว การแก้ไขยุ่งยากกว่าการป้องกัน และปฏิบัติให้ถูกต้องตั้งแต่แรก
ส่วนวัสดุที่ซ่อมแซมหลังคาก็มีมากมาย ทั้งอะครีลิกที่ผลิตออกมาเพื่อใช้กับงานหลังคาโดยเฉพาะ อะครีลิก ที่ว่านี้ เป็นของ เหลว คล้ายกับครีมทาหน้า เปิดกระป๋องออกมา ก็ใช้แปรงจุ่มน้ำทาได้เลย หรือทำมาเพื่ออุดตามร่องรอยรั่ว-ซึม เป็นต้น วัสดุ หลากหลายงานซ่อมหลังคา มีให้เลือกในหลายรูปแบบ เข้าใจวัสดุสักหน่อย ปัญหายากๆ ก็จะกลายเป็นปัญหาง่ายๆ ได้
นอกจากปัญหาการมุงแล้ว การเปลี่ยนจากวัสดุมุงหลังคาประเภทหนึ่งไปเป็นอีกประเภทหนึ่ง ก็ต้องระมัดระวังเรื่องของ น้ำหนักที่โครงสร้างจะรับ ไม่ว่าโครงสร้างของหลังคาหรือโครงสร้างอาคาร เช่น เสาที่จะรับน้ำหนัก ต้องตรวจสอบว่าสามารถรับ น้ำหนักของวัสดุมุงหลังคาประเภทใหม ได้หรือไม่ เป็นต้น
ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน มีหลายชนิด
1. ชนิดอยู่ใต้กระเบื้อง เป็นลักษณะแผ่นบางๆ มีตะกั่ว เรียกว่า แผ่นกันความร้อน หรือฉนวนกันความร้อน
2. ชนิดที่วางอยู่เหนือฝ้าเพดาน ฉนวนกันความร้อนชนิดนี้มักจะใช้วางบนฝ้าแขวน ที-บาร์ มีความหนา 2 นิ้ว, 3 นิ้ว หรือ 4 นิ้ว โดยไมโครไฟเบอร์สีเหลืองๆ อยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ทั้ง 4 ด้าน
3. ชนิดที่เป็นฝ้าเพดาน เช่นยิบซั่ม ชนิดที่มีฟอยล์อยู่ติดกับแผ่นด้านหนึ่งทำหน้าที่เป็นฝ้าเพดาน อีกด้านหนึ่งทำหน้าที่เป็น แผ่นสะท้อนความร้อน
4. ชนิดที่พ่นใต้หลังคา ลักษณะเป็นโฟมเหลวๆ เรียกว่า โพลียูริเทน ทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันความร้อนลงมาในอาคารได้ ส่วนหนึ่ง
5. ชนิดพ่นบนหลังคา เป็นประเภทเซรามิค มักจะเป็นของเหลวคล้ายๆ สี นิยมพ่นบนหลังคากระเบื้อง ดาดฟ้าคอนกรีต หรือบน หลังคาเหล็ก
6. ฉนวนยาง เป็นยางสีดำๆ ปะติดกับอลูมิเนียมฟอยล์ นิยมติดตั้งใต้กระเบื้องมุงหลังคา
7. ชนิดเป็นเส้นใย เรียกว่าเป็นผงฉนวนชนิดนี้จะพ่นบนฝ้าเพดานต้องมีกรรมวิธีโดยเฉพาะในการทำงาน
ไม่ว่าจะเป็นฉนวนกันความร้อนชนิดใดมีประโยชน์ต่องานอาคารทั้งนั้น เพราะป้องกันความร้อนเข้ามาในอาคารได้ ควร เลือกให้เหมาะสมกับบ้านของตนเอง โดยพิจารณาจากคุณสมบัติและราคาของวัสดุฉนวนกันความร้อนชนิดนั้นๆ เป็นหลัก
ปัญหางานสี
สีที่นำมาใช้ทาบ้าน ถ้าเป็นบ้านปูนจะใช้สีน้ำพลาสติกหรือสีอะครีลิก ถ้าเป็นบ้านไม้จะใช้สีน้ำมันหรือสีน้ำอะครีลิก หรือ ส่วนที่เป็นเหล็กจะใช้สีน้ำมัน เป็นต้น
ส่วนที่เป็นเหล็ก จะมีปัญหาเรื่องการทาสีน้อยที่สุด เพราะผิวเหล็กแกร่งไม่มีความชื้น ก่อนทาทำความสะอาดให้หมดคราบ ไขมัน คราบน้ำมันก็ทาได้
ส่วนที่เป็นไม้ มีความชื้น มีเชื้อราต้องมีสีทากันเชื้อรารองพื้น แล้วจึงทาสีจริง
ส่วนที่เป็นผนังปูน ต้องให้ผนังแห้งก่อนแล้วจึงค่อยทาสี การที่ผนังไม่แห้งแล้วทาสีลงไปจะส่งผลให้สีบวม หลุดร่อนง่าย ก่อนเวลาอันควร
วิธีทดสอบง่ายๆ ว่าผนังจะทาสีได้หรือไม่ กระทำโดยใช้ถุงพลาสติกขนาด 1 ฟุต ยาว 1 ฟุต ปะลงไปบนผนังที่จะทาสี แล้วปิดทับตามขอบๆ ด้วยสก๊อตเทป ดูไอน้าที่เกาะอยู่ตามถุงพลาสติก ถ้ายังมีไอน้ำแสดงว่า ความชื้นในผนังมีอย่าเพิ่งทาสี
การทาสี ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของสีแต่ละยี่ห้อ โดยทั่วไปจะทาสีรองพื้น 1 เที่ยว แล้วทาสีจริงอีก 2 เที่ยว สีบางยี่ห้อ อาจทาสีจริงลงไปได้ทันทีก็มี เพราะสีจริงมีสีรองพื้นปนอยู่ด้วย
ถ้าเป็นผนังเก่า ขอให้ขูดสีเก่าออกให้หมดก่อน แล้วทาสีรองพื้นปูนเก่า 1 เที่ยว ทาสีจริง 2 เที่ยว ถ้าเป็นผนังปูนใหม่ๆ ที่ ยังไม่เคยทาสีมาเลย ให้ทาสีรองพื้นปูนใหม่ 1 เที่ยว แล้วทาสีจริง 2 เที่ยว
สีที่ใช้กับบ้าน หากใช้ยี่ห้อใด ควรใช้ยี่ห้อนั้นๆ ทั้งหลัง เพื่อสะดวกในการดูแลบำรุงรักษาซ่อมแซมในอนาคต ควรมีสมุด ประวัติของบ้านว่าใช้สีอะไร สีเบอร์อะไร ใช้ส่วนไหนของบ้าน ช่างที่มาซ่อม จะได้มีข้อมูลในการซ่อมแซม บำรุงรักษาได้ง่ายขึ้น
สีของชายคา หรือส่วนที่เป็นไม้ ถ้าหลุดร่อนในอนาคต ต้องขูดทำความสะอาด แล้วรอให้พื้นผิวแห้ง จึงทาทับลงไปได้ การเลือกสี นอกจากจะดูในแคตตาล็อกแล้ว ควรดูจากแผ่นจริงที่ทา เพราะสีในแคตตาล็อกเป็นภาพพิมพ์ มิใช่สีเหมือนจริง ควร เลือกสีด้วยความชอบ ผสมผสานกับคำแนะนำของผู้รู้ สีบ้านจะออกมาท่ามกลาง ความสวยงาม ความพึงพอใจและถูกต้องตาม หลักของการใช้สี
ปัญหาระบบงานปั๊ม
ปั๊มน้ำ ในบ้านกลายเป็นสิ่งจำเป็น ขอให้เลือกให้ถูกต้อง จะทำให้ประหยัด ทั้งค่าน้ำและค่าไฟฟ้า วิธีที่ถูกต้องในการติดตั้ง ปั๊มน้ำคือ มีถังพักน้ำ 1 ใบ อยู่ข้างล่างอาคาร เพื่อรับน้ำจากท่อที่ผ่านมิเตอร์ แล้วปั๊มน้ำจากถังไปใช้งานในจุดต่างๆ ของบ้าน ถ้าบ้านเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ควรติดตั้งถังน้ำลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก วิธีนี้จะประหยัดค่าไฟฟ้าไปมาก สำหรับถังที่ตั้ง บนดาดฟ้าควรมีขนาดเล็กกว่าถังด้านล่างครึ่งหนึ่งตัวอย่างเช่นถังที่พื้นขนาด 3,000 ลิตร ถังบนดาดฟ้าก็ควรมีขนาด 1,500 ลิตร
ส่วนการตั้งถังน้ำบนดาดฟ้า ควรตั้งให้คร่อมห้วเสา ใกล้คาน หรือสอบถามผู้รู้ก่อนติดตั้ง และควรมีระบบลูกลอยที่ถังน้ำด้วย เพื่อทำหน้าที่ตัดไม่ให้น้ำล้นถัง ต้องหมั่นตรวจสอบลูกลอยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกลอยค้างจนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำ ล้นถังออกมา
การเลือกขนาดของถังน้ำในบ้าน มีสูตรการคำนวณอย่างง่ายๆ อ่านได้ที่หัวข้อการใ้ช้ถังน้ำ
การเลือกปั๊มน้ำให้พิจารณาจากความสามารถของปั๊มน้ำแต่ละชนิดลองสอบถามรายละเอียดจากผู้จำหน่าย หรือเอกสารประ กอบ หรือสอบถามจากผู้รู้
ส่วนการจะติดตั้งถังน้ำไว้บนดินหรือใต้ดินดีนั้น ขอให้คิดวิธีตั้งบนดินเป็นอันดับแรก เพราะสะดวกในการติดตั้งและการดูแล บำรุงรักษาง่ายกว่าทั้งในระยะสันและระยะยาว ถ้าไม่มีที่ตั้งถังน้ำจริงๆ จึงจะเลือกวิธีติดตั้งที่ใต้ดิน เพราะผลเสียของการติดตั้งถัง น้ำไว้ใต้ดินมีมากกว่า
สรุปงานก่อสร้าง
งานก่อสร้าง เป็นการผสมผสานวัสดุต่างๆ เข้าด้วยเทคนิคด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม วัสดุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่ หลากหลาย เช่น ยืดหดตัวไม่เท่ากัน หรือมีวิธีติดตั้งเฉพาะ
ฉะนั้น การจะนำวัสดุอะไรมาใช้ จะต้องใช้เทคนิคของวัสดุนั้นโดยตรงอย่าทำตามประสบการณ์ หรือทำซ้ำเพราะเป็นการทำ เลียนแบบกันมา โดยเฉพาะเจ้าของบ้านไม่ควรตามใจช่างเพียงเพราะช่างบอกว่าเคยทำ เคยมีประสบการณ์ ตัวอย่างมีให้เห็น และเกิดผลเสียหายจำนวนมาก เช่น การปูกระเบื้องแบบซาลาเปาซึ่งเป็นวิธีการปูที่ผิด แต่ช่างทั่วไปนิยมนำมาใช้งานเมื่อเวลา ผ่านไประยะหนึ่ง เกิดการหลุดร่อน ผลเสียและค่าใข้จ่ายก็ตกอยู่กับเจ้าของบ้าน
สิ่งสำคัญในงานก่อสร้างคือ คุณภาพของงานก่อสร้างที่ออกมาแบบเบ็ดเสร็จ โครงสร้างคอนกรีตจะทำออกมาดี ต้องเริ่มที่ ปูนดี ทรายดี น้ำดี วิธีผสมที่ดี ไม้แบบดี วิธีการเทปูนที่ดี วิธีถอดไม้แบบดี วิธีบ่มดี คุณภาพของคอนกรีตจึงจะออกมาดี
คุณภาพของผนังที่ทาสีดีไม่ใช่ดูจากปลายทางสุดท้ายของงานสี แต่จะต้องเริ่มที่ ขบวนการก่อนทา ทำความสะอาดผนัง ทาสีรองพื้นทาสีจริงตามกรรมวิธีของสีแต่ละยี่ห้อ ปัจจุบันมีแหล่งความรู้เรื่องการก่อสร้างมากมาย เช่น ทีวี วิทยุ นิตยสาร หนัง สือพิมพ์ รัานค้าขายวัสดุก่อสร้างที่มีบริการแนะนำสินค้า
งานก่อสร้างเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่้ต้องผสมผสาน ความพึงพอใจ ความชอบ ของแต่ละคนเข้าปด้วย ผลงานจึงจะออก มาดี สอดคล้องกับความต้องการของเจ้าของบ้านได้อย่างพอดี วิศวกร สถาปนิก ตกแต่งภายในและเจ้าของบ้าน คือบุคคลที่จะ ทำให้บ้านหรืออาคารหลังนั้นออกมาดี เป็นที่พอใจของทุกๆฝ่าย
งานก่อสร้างปัจจุบันมีเทคนิค วิธีการและวัสดุให้เลือกมาก จึงเป็นโอกาสของผู้บริโภคที่จะหาวัสดุให้สอดคล้องกับทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ งานก่อสร้างขอให้ใช้มืออาชีพจะดีกว่าเลือกที่ราคาถูกเพียงอย่างเดียว